วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

ใบงาน 11

      การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
     
จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
            1..การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม ผู้เรียนมีคุณธรรม   จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์    สังเคราะห์   และมีวิสัยทัศน์ ที่ดีกว้างไกล   ดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม  และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
           2.เน้นให้ผู้เรียนได้เห็นประโยชน์ของสังคม   เรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานร่วมกัน  ฝึกฝนให้รู้จักการใเทคนิคและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีอิสระและรับผิดชอบ                                                              
          3.ครูต้องมีการวางแผนการจัดกิจกรรม เตรียมสื่อการสอนกำกับดูและกระบวนการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้ ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องมีการ เตรียมการสอนเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้ครูได้พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดหมายของหลักสูตร
 
         4. การที่เราจะจัดการเรียนการสอนจากการสังเกต  วัดผล  ทดสอบต่างๆ  เรานำมาวิจัยดูพฤติกรรมของผู้เรียนและนำไปพัฒนานวัตกรรมสื่อใหม่ๆเพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นและนำประสบการณ์มาปรับปรุงและแก้ไขแล้วนำไปใช้ในอนาคต 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  พระพุทธ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   เวลาเรียน 10 ชั่วโมง

1.  สาระสำคัญ
พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้นในดินแดนที่เรียกว่า ชมพูทวีป เมื่อ 2,550 ปีมาแล้ว และเคยเจริญรุ่งเรืองในดินแดนพุทธภูมิมาก่อนที่จะแผ่ขยายเข้ามาเจริญรุ่งเรืองในดินแดนสุวรรณภูมิ ภายหลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เหล่าพุทธบริษัทต้องการจะสืบสานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป จึงได้มีการสังคายนา ร้อยกรองพระธรรมวินัย จัดหมวดหมู่คำสอนของพระพุทธเจ้าและจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาเล่าเรียน
ผลจากการทำสังคายนาครั้งที่ 3 พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ รวมทั้งสุวรรณภูมิ อาณาจักรไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางสุวรรณภูมิจึงได้รับเอาพระพุทธศาสนามาเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตและถือเป็นศาสนาประจำชาติของตน พระพุทธศาสนาจึงเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของคนไทย
2.  จุดประสงค์การเรียนรู้
1.  เข้าใจกระบวนการทำสังคายนาและเล่าประวัติการสังคายนา
2.  อธิบายคุณค่าและประโยชน์การทำสังคายนาพระธรรมวินัย
3.  ลำดับเหตุการณ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยแต่ละยุคสมัย
4.  บอกคุณค่าและความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทยในฐานะต่างๆ
3.  สาระการเรียนรู้
1.  การทำสังคายนา
2.  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย
3.  ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
4.  กิจกรรมการเรียนรู้
          -    นักเรียนทำสมาธิก่อนเรียน 5 นาทีทุกชั่วโมง
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                   1  สำรวจความต้องการและความพร้อมของนักเรียนก่อนเข้าสู่บทเรียน โดยการซักถาม สังเกตพฤติกรรมหรือสนทนา เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจการเรียนรู้ของนักเรียน
                    2 ครูให้ตัวแทนนักเรียนนำพระไตรปิฎกมา 1 เล่ม หรือนำมาจากห้องสมุด หรือที่ครูจัดเตรียมไว้เพื่อให้นักเรียนดู แล้วสนทนาในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับพระไตรปิฎก เช่น
                       -   นักเรียนเคยเห็นพระไตรปิฎกหรือไม่ และมักเห็นจากที่ใด
                       -   ใครเคยอ่านพระไตรปิฎกบ้าง มีเนื้อหาเป็นอย่างไร เล่าประสบการณ์ให้เพื่อนฟัง
                       -   พระไตรปิฎกมีความสำคัญและความเป็นมาอย่างไร
                   3. ครูเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน และให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
 ขั้นประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
          1.  นักเรียนอภิปรายถึงคุณค่าและการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สรุปผลการอภิปรายเป็นผังความคิด และนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน หรือนำผลงานติดป้ายนิเทศในชั้นเรียน
                   2.  นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา แล้วบันทึกประสบการณ์ลงในใบงานที่ 1.2 เรื่อง น้อมนำปฏิบัติ (1) ส่งครู
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                    1. สำรวจความต้องการและความพร้อมของนักเรียนก่อนเข้าสู่บทเรียน โดยการซักถาม สังเกตพฤติกรรมหรือสนทนา เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจการเรียนรู้ของนักเรียน
                       -   นักเรียนดูภาพพระพุทธรูปในยุคสมัยต่างๆ ภาพสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ภาพโบสถ์ เจดีย์ เป็นต้น
                    2.    ครูอธิบายภาพเพิ่มเติมและตั้งเป็นประเด็นปัญหาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับนักเรียนว่า นักเรียนรู้สึกอย่างไรต่อศิลปะและสถาปัตยกรรมเหล่านั้น อะไรคือที่มาหรือบ่อเกิดของศิลปะและสถาปัตยกรรมที่นำมาแสดง
ขั้นสร้างประสบการณ์
           1. ครูแนะนำเนื้อหาการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ และวิธีประเมินผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันกับนักเรียน
           2.             ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนาประจำชาติไทย พระพุทธศาสนาในฐานะสถาบันหลักของสังคมไทย และพระพุทธศาสนาในฐานะสิ่งแวดล้อมที่ดีและครอบคลุมของสังคมไทย พร้อมทั้งตั้งเป็นประเด็นคำถาม
ขั้นสรุปความเข้าใจ
           1.             ครูและนักเรียนร่วมกันศึกษาและสรุปความสำคัญของพระพุทธศาสนา และประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาเรื่องความสำคัญของพระพุทธศาสนา และทำแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ เรื่องที่ 1 ตอนที่ 3 ครูตรวจแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้พร้อมเฉลยคำตอบ
                    2. นักเรียนอภิปราย ซักถามเพิ่มเติม และร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ ครูนัดหมายการเรียนครั้งต่อไป
ขั้นประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
          1. นักเรียนอภิปรายกลุ่มว่าจะนำความรู้เรื่องความสำคัญของพระพุทธศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง สรุปผลการอภิปรายเป็นผังความคิด และนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน หรือนำผลงานติดป้ายนิเทศในชั้นเรียน
          2. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา แล้วบันทึกประสบการณ์ลงในใบงานที่ 1.7 เรื่อง น้อมนำปฏิบัติ (2) ส่งครู
5.   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
     1.  แผนที่ทวีปเอเชีย/แผนที่ประเทศไทย/กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา/ภาพพระราชกรณียกิจด้านพระพุทธศาสนา
     2.  ภาพสถาปัตยกรรม
     3.  บัตรคำ
     4.  สื่อสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สัมฤทธิ์มาตรฐาน พระพุทธศาสนา ม.1
6.   การวัดและประเมินผล
      6.1    วิธีการวัดและประเมินผล
              1.  ตรวจใบงาน
              2.  ตรวจแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้
              3.  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
              4.  ประเมินผลงานกลุ่ม
              5.  ประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม
      6.2    เครื่องมือวัดและประเมินผล
              1.  ใบงาน                 
              2.  แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้
              3.  แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
              4.  แบบประเมินผลงานกลุ่ม
              5.  แบบประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม
      6.3    เกณฑ์การวัดและประเมินผล
              1.  ใบงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50
              2.  แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50
              3.  แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม (รายละเอียดอยู่ในแบบสังเกต)
              4.  แบบประเมินผลงานกลุ่ม (รายละเอียดอยู่ในแบบประเมิน)
              5.  แบบประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม (รายละเอียดอยู่ในแบบประเมิน)
              แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
ลำดับที่
รายการพฤติกรรม
คุณภาพการปฏิบัติ
4
3
2
1
1
มีการปรึกษาและวางแผนร่วมกันก่อนทำงาน




2
มีการแบ่งหน้าที่อย่างเหมาะสมและสมาชิกทำตามหน้าที่ทุกคน




3
มีการปฏิบัติงานตามขั้นตอน




4
มีการให้ความช่วยเหลือกัน




5
ให้คำแนะนำกลุ่มอื่นได้




รวม



                   









                                                                                           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น