วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การประเมินใช้เครื่องมือบล๊อก

การประเมินการใช้บล็อกนี้
ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
รู้สึกได้ว่าอาจารย์ต้องการให้นักศึกษาสืบค้นหาข้อมูลด้วยตนเองและต้องการให้นักศึกษาเอาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยเพื่อให้นักศึกษามีความคิดที่เป็นของตัวเอง                                                                                               
2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ได้รับความรู้ในการใส่ภาพในรูปแบบสไลด์และการแทรกลูกเล่นต่างๆเช่นการใช้ปฏิทิน การใส่เพลง  เมาส์ และนาฬิกา เป็นต้น  เพื่อเป็นการพัฒนาในการใช้บล็อกต่อไป
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
สะดวกมาก ในหลายกรณี เช่น ส่งงานไม่ทันเราก็สามารถส่งทางบล็อกได้ และมีเวลาในการค้นคว้างานที่ได้ประสิทธิภาพและมีเวลาคิดวิเคราะห์ที่มากขึ้น
4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว (เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)
มากที่สุด เนื่องจากได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นการฝึกการใช้งานของบล็อกได้มากขึ้นและรู้จักวิธีการใช้งานของบล็อก ช่วยเสริมสร้างความรู้ความสามารถในก้าวทันยุคทันสมัยในปัจจุบันและให้ทันโลกของโลกาภิวัฒน์

สอบครั้งที่ 2

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1. Classroom Management
การจัดการในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน การสร้างวินัย ในชั้นเรียนตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูและการพัฒนาทักษะการสอน ของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.HappinessClassroom
            หมายถึง การจัดห้องเรียนให้มีความสุข
3. Life-long Education
การเรียนรู้ตลอด หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถจะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเอง
4. formal Education
การศึกษาในระบบ  หมายถึง การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
5. non-formal education
ศึกษานอกระบบ หมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก
6. E-learning
การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศอาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนการสอนบนเว็บ การเรียนออนไลน์ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ อาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวิดีทัศน์ ตามอัธยาศัย เป็นต้น
7. Graded
หมายถึง การเรียนแบบระดับชั้น เช่น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นต้น
8. Policy education
     นโยบายการศึกษา คือ หลักการหรือกรอบความคิด แนวทางกลวิธีการดําเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น   
9. Vision
วิสัยทัศน์ หมายถึง การสร้างภาพอนาคต หรือการมองอนาคตซึ่งจะเป็นเป้าหมายในการเดินไปสู่อนาคต โดยวิธีการนำเอาระบบการวางแผนมาใช้ หรือหมายถึงสิ่งที่อยากเห็นในอนาคตและเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิม
10. Mission
พันธกิจ หมายถึง หน้าที่โดยรวมของสถาบันการศึกษา เป็นการตอบคำถามที่ว่า สถาบันการศึกษาต้องการบรรลุอะไรเป็นพันธะสัญญาที่ต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ เป็นจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบันการศึกษาและเป็นขอบข่าย การดำเนินงานของสถาบันการศึกษานั้น พันธกิจอาจกำหนดโดยผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือตลาดเป้าหมายที่สถาบันการศึกษาให้บริการ ความสามารถที่โดดเด่นของสถาบันการศึกษา หรือเทคโนโลยีที่สถาบันการศึกษาใช้
11. Goals
เป้าหมาย หมายถึง การกำหนดสิ่งที่ต้องการในอนาคต ซึ่งองค์การจะต้องพยายามให้เกิดขึ้น หรือหมายถึง เป็นการกำหนดภารกิจของธุรกิจในรูปของผลลัพธ์สำคัญที่ต้องการ เป้าหมายมีความเฉพาะเจาะจงน้อยกว่าวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์จะกำหนดขึ้น หลังจากกำหนดเป้าหมายแล้ว เป้าหมายเลิงกลยุทธ์จะช่วยผู้บริหารให้คิดเกี่ยวกับสิ่งซึ่งธุรกิจต้องบรรลุผลเป้าหมายโดยทั่วไปเป็นปรัชญาของจุดมุ่งหมาย
12. Objective
วัตถุประสงค์ หมายถึง เป้าหมายซึ่งต้องการให้กิจกรรมบรรลุผลหรือหมายถึงเป้าหมายระยะสั้นที่มี ลักษณะเจาะจง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้
13. backward design
หมายถึง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการพัฒนาตน เองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพการเรียนรู้และการทำงานของ ครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้ของครูเกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเพื่อนครู ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา ปรับปรุง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู ทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือปฏิบัติ แล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ต่อผู้อื่น
14. Effectiveness
ประสิทธิผล หมายถึง การปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้
15. Efficiency
ประสิทธิภาพ หมายถึง การปฏิบัติงานหรือบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว ใช้เทคนิคที่สะดวกสบายกว่าเดิม คุ้มค่า และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในขณะที่ต้องการผลงานมากที่สุด
16. Economy
เศรษฐศาสตร์ หมายถึงการศึกษาถึงวิธีการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมาใช้อย่างประหยัดหรืออย่างมีประสิทธิภาพ
17. Equity
 หมายถึง ความเสมอภาพ
18. Empowerment
หมายถึง การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจ เพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิต วิถีการทำงาน ให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
19. Engagement
การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย
20. Project
โครงการ หมายถึง ข้อเสนอที่จะดำเนินงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้สำเร็จ โดยมีการตระเตรียม และวางแผนงานไว้ล่วงหน้า เป็นการจัดการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่ง ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
21. activies
หมายถึง การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา

22. Leadership
ความเป็นผู้นำ หมายถึง กระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือมากกว่า พยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตนกระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่ม บุคคลอื่น มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ โดยมีความสำเร็จของกลุ่ม หรือองค์การเป็นเป้าหมาย
23. Leaders
  ผู้นำ หมายถึง  บุคคลที่มีความสามารถที่จะทำให้องค์การดำเนินไปอย่างก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมาย  โดยการใช้อิทธิพลเหนือทัศนคติและการกระทำของผู้อื่น24. Follows
ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง25. Situations
หมายถึง เรื่องราว เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
26. Self awareness
การรู้จักตน หมายถึง การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนการรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
27. Communication
การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่าง ๆ
28. Assertiveness
ความกล้าแสดงออก หรือก้าวล้ำ หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกมาในเชิงสร้างสรรค์ เชิงบวก เพื่อความถูกต้อง เหมาะสม ให้เกียรติ ตามกาลเทศะ สุภาพเรียบร้อย มีปิยวาจา มีเมตตาธรรม โดยที่มีสิทธิปกป้องสิทธิของตน หากเขาไม่เห็นด้วย หรือคิดว่าในภายหลังจะต้องมารับผลที่ตามมา หากไปตกปากรับคำในสิ่งที่รู้แล้วว่าทำไม่ได้
29. Time management
การบริหารเวลา   หมายถึง การดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุ เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้น
30. PSDCORB
การบริหารงาน– Planning หมายถึง การวางแผน   O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน  D – Directing หมายถึง การสั่งการ Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ R – Reporting หมายถึง การรายงาน  B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ
31. Formal Leaders
ผู้นำแบบเป็นทางการ หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน เพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้า
32. Informal Leaders
ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ หมายถึง ผู้นำที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา เพราะไม่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าในองค์การ แต่สมาชิกในหน่วยให้การยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้นำ เพราะเขามีคุณสมบัติบางประการที่หน่วยงานหรือสมาชิกในองค์การ ต้องการ ให้การยอมรับ หรือให้ความไว้วางใจ เช่น ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ มนุษย์สัมพันธ์ เป็นต้น
33. Environment
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
34. Globalization
โลกาภิวัตน์มีความเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมประเพณีเดียวนั้น  หมายถึง  สภาวะโลกไร้พรมแดนได้ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารกัน จนเกิดแบบแผน และพัฒนาไปสู่การมีวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างคนจากส่วนต่างๆของโลก
33. Competency
ความสามารถเชิงสมรรถนะ หรือสมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะทั้งในด้านทักษะ ความรู้ และพฤติกรรม ของบุคคล ที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงาน ที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ
34. Organization Cultural
วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ
35. Individual Behavior
พฤติกรรมบุคคล หมายถึง การกระทำหรือการแสดงออกของบุคคล เพื่อแสดงถึงสิ่งที่เขาอยากมี หรือ อยากเป็น ขึ้นอยู่กับสรีระและสิ่งแวดล้อม
36. Group Behavior
พฤติกรรมกลุ่ม หมายถึง เกิดจากการที่บุคคลตั้งแต่สองคนรวมกันเพื่อร่วมกำหนดเป้าหมายและเพื่อการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
37. Organization Behavior
หมายถึง แนวทางในการปฏิบัติของคนในองค์การซึ่งมาจากสิ่งที่คนนำเข้ามาในองค์การ ได้แก่ ความสามารถ ความคาดหวัง
38. Team working
การทำงานเป็นทีม หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีการประสานงานกัน ร่วมมือกัน สามัคคี มีเป้าหมายร่วมกัน และเชื่อใจกัน
39. Six Thinking Hats
หมวกหกใบหกสี หมายถึง แต่ละใบของหมวกคิดทั้งหกจะมีสีต่างกัน ขาว แดง ดำ เหลือง เขียว ฟ้า สีคือชื่อของหมวกแต่ละหมวก สีของแต่ละหมวกยังมีความสัมพันธ์กับการทำงานของมันด้วยสีขาว
สีขาวเป็นกลางไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง หมวกขาวจะเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงและตัวเลข
สีแดง สีแดงแสดงถึงความโกรธ ความเดือดดาล และอารมณ์ สีแดงให้มุมมองทางด้านอารมณ์
สีดำ สีดำคือข้อควรระวัง และคำเตือน ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของความคิดนั้นๆ
สีเหลือง ให้ความรู้สึกในทางที่ดี หมวกสีเหลืองเป็นมุมมองในทางบวก รวมถึงความหวัง และคิดในแง่ดีด้วย
หมวกสีเขียว หมายถึงความคิดริเริ่ม และความคิดใหม่ๆ
สีฟ้า  หมายถึง  การควบคุม การจัดระบบ กระบวนการคิดและการใช้หมวกอื่นๆ
40. Classroom Action Research
หมายถึง รูปแบบของการวิจัยที่ครูกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถนำไปใช้เพื่อการศึกษา และการวิจัยในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของห้องเรียน จึงอาจกล่าวได้ว่า การวิจัยในชั้นเรียนเป็นวิธีการวิจัยที่ออกแบบ และพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้ครูสามารถค้นพบว่ามีอะไรเกิดขึ้นในห้องเรียนบ้าง และยังช่วยให้ครูทราบข้อมูลที่จะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนที่จะมี ขึ้นต่อไปในอนาคต โดยเลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงบรรยาย หรือการวิจัยเชิงทดลอง อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นวิธีการศึกษา

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สอบ

           คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
1.Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
ตอบ คือการจัดสภาพของห้องเรียน ที่ส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น การตกแต่งห้องเรียนทางวัตถุหรือทางกายภาพ ให้มีบรรยากาศ น่าเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนของนักเรียนเท่านั้น
2.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ  ข้อกําหนดสําหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็น
บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
มาตรฐานการปฏิบัติงาน คือ เป็นผลการปฏิบัติงานในระดับใดระดับหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ที่น่าพอใจ หรืออยู่ในระดับที่ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ทำได้ การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน จะเป็นลักษณะข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาในงานที่ต้องปฏิบัติ โดยจะมีกรอบในการพิจารณากำหนดมาตรฐานหลายๆ ด้านด้วยกัน อาทิ ด้านปริมาณ ด้านคุณภาพ ด้านระยะเวลา ด้านค่าใช้จ่าย หรือพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน เนื่องมาจากมาตรฐานของงานบางประเภทจะออกมาในรูปของปริมาณ ในขณะที่บางประเภทอาจออกมาในรูปแบบของคุณภาพองค์การจึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของงานประเภทนั้นๆมาตรฐานการปฏิบัติตน หรือ กจรรยาบรรณของวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น (ศึกษานิเทศก์) ประกอบด้วย
 1. จรรยาบรรณต่อ
 2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
3. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
5. จรรยาบรรณต่อสังคม
3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
ตอบ เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน นักเรียนจะใช้เวลาอยู่ในชั้นเรียนประมาณวันละ 5-6 ชั่วโมง อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์   ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้

4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
ตอบ ช่ายกันปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนให้มีความน่าอยู่มากขึ้นโดยจัดพื้นที่ให้มีจำพวกต้นไม้หรือดอกไม้ในบริเวณโรงเรียนเพื่อเกิดความน่าอยู่มากขึ้นและอากาศบริเวณโรงเรียนก็จะมีความสดชื่นมากขึ้น ส่วนในด้านความปลอดภัยคือจัดให้มีผู้รับผิดชอบในด้านอาคารและสถานที่เพื่อตรวจสอบความปลอดภัดของอาคารและสถานที่
5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
 ตอบ  ผู้เรียนมีการกำหนดจุดเน้นเพื่อให้นักเรียนทุกคนมีคุณลักษณะของการเป็นพลเมืองที่รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลาง การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และมีคุณลักษณะนิสัยตามพัฒนาการแต่ละช่วงวัย ได้แก่ ใฝ่ดี ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการศึกษาและการทำงาน การนำจุดเน้นดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ ต้องมีแนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และศักยภาพของผู้เรียน โรงเรียนต้องมีการจัดโครงสร้างเวลาเรียนที่ชัดเจน จัดกิจกรรมนอกห้องเรียนที่เน้นการปฏิบัติไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐ ของเวลาเรียน และมีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย การแสวงหาความร่วมมือกับชุมชนและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น มาร่วมในการจัดการเรียนรู้
6.ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
 ตอบ ในแต่ละเดือนจัดให้มีการอบรมณ์ด้านจริยธรรมและคุณธรรมให้แก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนนั้นไดรู้หลักจริยธรรมและคุณธรรมโดยการเชิญผู้มีความรู้มาเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน

ใบงาน 14

ให้นักศึกษาศึกษา Power point  แล้วตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?
ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ         ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้Mind Mappingสอนให้เกิดความคิดองค์ควารู้ใหม่และกระจายองค์ความรู้เป็นของตนเองแล้วสรุปออกมาเป็นแผนผังความคิดและทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆด้วยและแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของมโนภาพที่สัมพันธ์กันรูปแบบหนึ่ง
ข้อดี
1.ช่วยประกอบในการเรียนการสอนของนักเรียน
2.ใช้ในกรณีการตัดสินใจทางเลือกหลายๆทาง
3.ช่วยในการสรุปงานทุกอย่าง
4.ใช้รวบรวมข้อมูลความคิด แนวคิด

ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
หมวกขาว : ข้อเท็จจริง ตัวเลข ที่เป็นกลาง ไม่ปะปนกับข้อคิดเห็น หรืออารมณ์ความรู้สึกหรือเหตุผลด้านใดทั้งสิ้น
หมวกแดง : อารมณ์ความรู้สึก
หมวกดำ : เหตุผลด้านลบ
หมวกเหลือง : เหตุผลด้านบวก
หมวกเขียว : ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ๆ
หมวกฟ้า : การควบคุมขั้นตอนการคิด และขั้นตอนการใช้หมวกทั้ง 6 ใบ
ในการคิดแบบหมวก6ใบการคิดเพียงครั้งละด้านจะช่วยให้แยกความรู้สึกออกจากเหตุผล ความคิดสร้างสรรค์ออกจากการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น ผู้คิดสวมหมวกเพียงใบหนึ่งใบใดจาก 6 ใบ เพื่อจำกัดให้คิดเพียงครั้งละด้าน จึงสามารถชักนำ และควบคุมกระบวนการทางความคิดและกระบวนการระดมความคิด ทั้งกรณีมีผู้คิดคนเดียว และกรณีมีผู้คิดร่วมกันหลายคน โดยเฉพาะในที่ประชุมที่จะมีประโยชน์มาก หากให้บุคคลเปลี่ยนหมวกเพื่อไปคิดในด้านที่ต่างไปจากที่เขาเคยชิน เพื่อเป็นการเปลี่ยนมุมมองของแต่ละคนแต่งในการเขียนโครงงานเราต้องมีข้อมูลต่อไปนี้
1.  ชื่อโครงงาน  2.  ชื่อผู้ทำโครงงาน   3.  ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน   4.  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน5.  วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า    6.  สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี)  7.  วิธีดำเนินงาน  8.  แผนปฏิบัติงาน   9.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ    10. เอกสารอ้างอิง
จะเห็นได้ว่าการเขียนโครงจะทำตามขั้นตอนแต่หมวก6ใบจะคิดแบบอิสระ

ใบงาน 13

คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ          1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด 
                ไม่   เหมาะสม  เพราะ เด็กไทยสวนใหญ่ชอบกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ชอบกินอาหารโภชนาการในสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ ทำให้ได้รับความสนใจและอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคได้ โดยเฉพาะถ้าได้มีการปลูกฝังความรู้ที่ถูกต้องตั้งแต่วัยเด็ก อาจทำให้เกิดเป็นนิสัยที่จะบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายตลอดชีวิตได้ หรือพฤติกรรมสุขภาพจะไม่ดีตามมาด้วยเพราะเรากินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะทำให้สุขภาพไม่ดี

        2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า “มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง” แต่ไม่เคยถามว่า “หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก         กำลังกายไหม)
              น้อยมาก เพราะ เด็กไทยส่วนใหญ่มักจะมั่วสุมกับการเล่นเกมส์  ดูหนัง  ฟังเพลง     เที่ยวแตร่  มักจะไม่ค่อนมีเวลาว่างในการออกกำลังกายตามปฏิทินออกกำลังกายหรือไม่มีปฏิทินออกกำลังการเลย  ทำให้เด็กไทยมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงตามมาตรฐานของเด็กไทย


        3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
               มี  เพราะ   การบริหารสุขภาพจิต คือ เทคนิคที่จะทำให้สุขภาพจิตดีมีมากมาย วิธีหนึ่งคนนึง ใช้ได้ผลแต่อีกคนหนึ่งใช้ไม่ได้ก็ต้องเลือกเอาเองว่าจะใช้วิธีใดใช้แล้วดี หัวเราะบ่อย ๆ คุยตลก ดูตลก หาการ์ตูนขำขันอ่านบ้าง ทำอะไรก็ได้ ที่มันทำให้หัวเราะ การหัวเราะช่วยบริหารกล้ามเนื้อใบหน้าช่วยให้แก่ช้า สดใส บางคนเข้าใจผิดว่าหัวเราะทำให้เกิดรอยย่นตรงนั้นตรงนี้ ยิ้มกว้างก็กลัวย่น ทุกวันนี้คนหัวเราะง่ายจะลดลงเรื่อย ๆ เพราะสภาพแวดล้อมไม่ดีมีมากขึ้น

               การควบคุมอารมณ์  คือ เราจะต้องมีการควบคุมอารมณ์ได้เพราะเราได้ทำการบริหารสุขภาพจิตทำให้เราควบคุมอารมณ์ตนเองได้อย่างสม่ำเสมอ
               การพัฒนาบุคลิกภาพ  คือ การที่เรามีสมาธิ  มีอารมณ์ที่ไม่โกรธทำให้เราพัฒนาบุคลิกภาพที่เหมาะสมบุคลิกภาพ ที่ดีที่สุด คือความมั่นใจ จริงใจ แม้พูดไม่ชัดแต่ก็พูดด้วยความมั่นใจ พูดหยาบแต่มั่นใจแบบคนบ้านนอก พูดกู ๆ มึง ๆ คนฟังก็ทราบซึ้งถึงน้ำตาไหลได้ บุคลิกภาพนอกจากการพูดแล้ว ยังมีน้ำเสียง ท่าทาง ความมั่นใจ เป็นพลังที่ส่งออกไปจากผู้พูด ไปยังผู้ฟัง
        4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสาคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
               มี  เพราะ  สภาพชีวิตที่เป็นสุข มีอารมณ์มั่นคงสามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีสมรรถภาพในการ ทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความพอใจ สุขภาพไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญและ จำเป็นสำหรับทุกชีวิตในการดำรงอยู่อย่างปกติ เป้าหมายของการเรียนรู้ วิชาสุขภาพจิต ก็คือ การทำให้ชีวิตมีความสุข ความพอใจ ความสมหวัง ทั้งของตนเองและของผู้อื่น

          5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจาแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด) 
                 ไม่  เพราะ  ถ้าทำอย่างนั้น จะทำให้เด็กที่เรียนไม่เก่งจะไม่ได้ความรู้อะไรเลยเพราะจะทำให้เข้ากับเพื่อนไม่ได้ เด็กที่เรียนเก่งกว่าก็จะดูถูกและหยอกล้อเด็ดที่เรียนอ่อนกว่าทำให้เด็กไม่มีสมาธิในการเรียนทำให้เรียนไม่ทันเพื่อนในห้อง  เด็กจะขาดพรหมด้อย  และดูตัวเองว่าเป็นเด็กโง่ไม่ทันเพืื่อนทำให้ผลการเรียนก็ต่ำลงทำให้เด็กเสียใจและไม่อยากมาโรงเรียนเพราะอายเพื่อน  เพราะฉะนั้นคุณครูไม่ควรแยกเด็กเก่งกับอ่อนควรให้อยู่รวมกัน

       6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ “ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้น” โดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
              1. ควรให้คำปรึกษาแก่เด็ก
              2. ยอมรับฟังปัญหาของนักเรียนได้ทุกเรื่อง
              3. จัดกิจกรรมส่งเสริมวิชาการให้กับเด็กเพื่อที่จะใด้เด็กได้มีส่วนร่วม
              4. จัดเกมส์และกีฬาภายในโรงเรียนเพื่อลดปัญหาลง
              5. ควรจัดกิจกรรมทัศนศึกษานอกโรงเรียนทุกครั้ง
              6. การอบรมให้ความรู้แก่เด็ก

       7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา “การควบคุมอารมณ์”)
               มี  เพราะ  การพัฒนาบุคลิกภาพและการควบคุมอารมณ์สุขภาพจิต จำเป็นอย่างยิ่งต่อวิชาที่เรียน เพราะจะช่วยให้เด็กมีสมาธิในการเรียรการทำข้อสอบ มีความมุ่งมั่นในการเรียนรู้สิ่งต่างๆๆมากขึ้นมีจิตใจเมตตาต่อคนรอบข้าง มีความมุ่งมานะต่อสถานะการณ์ต่างๆๆมากมาย

       8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
                มาก เพราะ  ทางโรงเรียนจะประเมิน สุขภาพกาย สุขภาพจิต ของนักเรียนเป็นระยะๆทำให้รู้ว่านักเรียนมีสุขภาพจิตและสุขภาพกายเป็นอย่างไรในแต่ละคน  และคุณครูก็ได้ประเมินตามมาตรการของโรงเรียนที่จัดตั้งไว้

       9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
              มีค่ะเพราะมีความจำเป็นมากที่จะมีแบบประเมินสุขภาพเด็กทุกคนในโรงเรียนและประเมินคุณภาพทางครอบครัวของเด็กแต่ละคนได้เป็นอย่างดี
       

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ใบงาน12

 
 ศึกษาตำบลบ้านลำนาว
         องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำนาว อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ตอนกลางของอำเภอบางขัน โดยมีพื้นที่ส่วนหนึ่งยื่นยาวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลำนาว ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 15 ซึ่งห่างจากที่ว่าการอำเภอบางขันประมาณ 300 เมตร ห่างจากตัวเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ 85 กิโลเมตร มีเนื้อที่โดยประมาณ 171.86 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 274,976 ไร่
ตำบลบ้านลำนาว มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบเนินเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูง เพราะตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาบรรทัด สภาพพื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทราย สภาพพื้นที่มีความเหมาะสมในการประกอบอาชีพทำสวนยางพาราและสวนผลไม้ ประชากรประมาณร้อยละ 90 ประกอบอาชีพทางการเกษตรทำสวนยางพารา และมีประกอบอาชีพรับจ้าง และอาชีพค้าขายบ้างเล็กน้อย โดยที่บางครัวเรือนมีอาชีพเลี้ยงสัตว์และปลูก ผลไม้เป็นอาชีพเสริม ตำบลบ้านลำนาวมีลักษณะภูมิอากาศอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกออกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีอากาศร้อนชื้นตลอดปี มี 2 ฤดู ประกอบด้วย
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนธันวาคม
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนเมษายน

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

ใบงาน 11

      การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
     
จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
            1..การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม ผู้เรียนมีคุณธรรม   จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์    สังเคราะห์   และมีวิสัยทัศน์ ที่ดีกว้างไกล   ดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม  และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
           2.เน้นให้ผู้เรียนได้เห็นประโยชน์ของสังคม   เรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานร่วมกัน  ฝึกฝนให้รู้จักการใเทคนิคและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีอิสระและรับผิดชอบ                                                              
          3.ครูต้องมีการวางแผนการจัดกิจกรรม เตรียมสื่อการสอนกำกับดูและกระบวนการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้ ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องมีการ เตรียมการสอนเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้ครูได้พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดหมายของหลักสูตร
 
         4. การที่เราจะจัดการเรียนการสอนจากการสังเกต  วัดผล  ทดสอบต่างๆ  เรานำมาวิจัยดูพฤติกรรมของผู้เรียนและนำไปพัฒนานวัตกรรมสื่อใหม่ๆเพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นและนำประสบการณ์มาปรับปรุงและแก้ไขแล้วนำไปใช้ในอนาคต 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  พระพุทธ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   เวลาเรียน 10 ชั่วโมง

1.  สาระสำคัญ
พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้นในดินแดนที่เรียกว่า ชมพูทวีป เมื่อ 2,550 ปีมาแล้ว และเคยเจริญรุ่งเรืองในดินแดนพุทธภูมิมาก่อนที่จะแผ่ขยายเข้ามาเจริญรุ่งเรืองในดินแดนสุวรรณภูมิ ภายหลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เหล่าพุทธบริษัทต้องการจะสืบสานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป จึงได้มีการสังคายนา ร้อยกรองพระธรรมวินัย จัดหมวดหมู่คำสอนของพระพุทธเจ้าและจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาเล่าเรียน
ผลจากการทำสังคายนาครั้งที่ 3 พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ รวมทั้งสุวรรณภูมิ อาณาจักรไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางสุวรรณภูมิจึงได้รับเอาพระพุทธศาสนามาเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตและถือเป็นศาสนาประจำชาติของตน พระพุทธศาสนาจึงเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของคนไทย
2.  จุดประสงค์การเรียนรู้
1.  เข้าใจกระบวนการทำสังคายนาและเล่าประวัติการสังคายนา
2.  อธิบายคุณค่าและประโยชน์การทำสังคายนาพระธรรมวินัย
3.  ลำดับเหตุการณ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยแต่ละยุคสมัย
4.  บอกคุณค่าและความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทยในฐานะต่างๆ
3.  สาระการเรียนรู้
1.  การทำสังคายนา
2.  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย
3.  ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
4.  กิจกรรมการเรียนรู้
          -    นักเรียนทำสมาธิก่อนเรียน 5 นาทีทุกชั่วโมง
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                   1  สำรวจความต้องการและความพร้อมของนักเรียนก่อนเข้าสู่บทเรียน โดยการซักถาม สังเกตพฤติกรรมหรือสนทนา เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจการเรียนรู้ของนักเรียน
                    2 ครูให้ตัวแทนนักเรียนนำพระไตรปิฎกมา 1 เล่ม หรือนำมาจากห้องสมุด หรือที่ครูจัดเตรียมไว้เพื่อให้นักเรียนดู แล้วสนทนาในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับพระไตรปิฎก เช่น
                       -   นักเรียนเคยเห็นพระไตรปิฎกหรือไม่ และมักเห็นจากที่ใด
                       -   ใครเคยอ่านพระไตรปิฎกบ้าง มีเนื้อหาเป็นอย่างไร เล่าประสบการณ์ให้เพื่อนฟัง
                       -   พระไตรปิฎกมีความสำคัญและความเป็นมาอย่างไร
                   3. ครูเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน และให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
 ขั้นประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
          1.  นักเรียนอภิปรายถึงคุณค่าและการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สรุปผลการอภิปรายเป็นผังความคิด และนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน หรือนำผลงานติดป้ายนิเทศในชั้นเรียน
                   2.  นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา แล้วบันทึกประสบการณ์ลงในใบงานที่ 1.2 เรื่อง น้อมนำปฏิบัติ (1) ส่งครู
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                    1. สำรวจความต้องการและความพร้อมของนักเรียนก่อนเข้าสู่บทเรียน โดยการซักถาม สังเกตพฤติกรรมหรือสนทนา เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจการเรียนรู้ของนักเรียน
                       -   นักเรียนดูภาพพระพุทธรูปในยุคสมัยต่างๆ ภาพสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ภาพโบสถ์ เจดีย์ เป็นต้น
                    2.    ครูอธิบายภาพเพิ่มเติมและตั้งเป็นประเด็นปัญหาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับนักเรียนว่า นักเรียนรู้สึกอย่างไรต่อศิลปะและสถาปัตยกรรมเหล่านั้น อะไรคือที่มาหรือบ่อเกิดของศิลปะและสถาปัตยกรรมที่นำมาแสดง
ขั้นสร้างประสบการณ์
           1. ครูแนะนำเนื้อหาการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ และวิธีประเมินผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันกับนักเรียน
           2.             ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนาประจำชาติไทย พระพุทธศาสนาในฐานะสถาบันหลักของสังคมไทย และพระพุทธศาสนาในฐานะสิ่งแวดล้อมที่ดีและครอบคลุมของสังคมไทย พร้อมทั้งตั้งเป็นประเด็นคำถาม
ขั้นสรุปความเข้าใจ
           1.             ครูและนักเรียนร่วมกันศึกษาและสรุปความสำคัญของพระพุทธศาสนา และประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาเรื่องความสำคัญของพระพุทธศาสนา และทำแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ เรื่องที่ 1 ตอนที่ 3 ครูตรวจแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้พร้อมเฉลยคำตอบ
                    2. นักเรียนอภิปราย ซักถามเพิ่มเติม และร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ ครูนัดหมายการเรียนครั้งต่อไป
ขั้นประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
          1. นักเรียนอภิปรายกลุ่มว่าจะนำความรู้เรื่องความสำคัญของพระพุทธศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง สรุปผลการอภิปรายเป็นผังความคิด และนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน หรือนำผลงานติดป้ายนิเทศในชั้นเรียน
          2. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา แล้วบันทึกประสบการณ์ลงในใบงานที่ 1.7 เรื่อง น้อมนำปฏิบัติ (2) ส่งครู
5.   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
     1.  แผนที่ทวีปเอเชีย/แผนที่ประเทศไทย/กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา/ภาพพระราชกรณียกิจด้านพระพุทธศาสนา
     2.  ภาพสถาปัตยกรรม
     3.  บัตรคำ
     4.  สื่อสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สัมฤทธิ์มาตรฐาน พระพุทธศาสนา ม.1
6.   การวัดและประเมินผล
      6.1    วิธีการวัดและประเมินผล
              1.  ตรวจใบงาน
              2.  ตรวจแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้
              3.  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
              4.  ประเมินผลงานกลุ่ม
              5.  ประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม
      6.2    เครื่องมือวัดและประเมินผล
              1.  ใบงาน                 
              2.  แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้
              3.  แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
              4.  แบบประเมินผลงานกลุ่ม
              5.  แบบประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม
      6.3    เกณฑ์การวัดและประเมินผล
              1.  ใบงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50
              2.  แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50
              3.  แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม (รายละเอียดอยู่ในแบบสังเกต)
              4.  แบบประเมินผลงานกลุ่ม (รายละเอียดอยู่ในแบบประเมิน)
              5.  แบบประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม (รายละเอียดอยู่ในแบบประเมิน)
              แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
ลำดับที่
รายการพฤติกรรม
คุณภาพการปฏิบัติ
4
3
2
1
1
มีการปรึกษาและวางแผนร่วมกันก่อนทำงาน




2
มีการแบ่งหน้าที่อย่างเหมาะสมและสมาชิกทำตามหน้าที่ทุกคน




3
มีการปฏิบัติงานตามขั้นตอน




4
มีการให้ความช่วยเหลือกัน




5
ให้คำแนะนำกลุ่มอื่นได้




รวม