วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

ใบงาน 11

      การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
     
จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
            1..การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม ผู้เรียนมีคุณธรรม   จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์    สังเคราะห์   และมีวิสัยทัศน์ ที่ดีกว้างไกล   ดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม  และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
           2.เน้นให้ผู้เรียนได้เห็นประโยชน์ของสังคม   เรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานร่วมกัน  ฝึกฝนให้รู้จักการใเทคนิคและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีอิสระและรับผิดชอบ                                                              
          3.ครูต้องมีการวางแผนการจัดกิจกรรม เตรียมสื่อการสอนกำกับดูและกระบวนการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้ ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องมีการ เตรียมการสอนเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้ครูได้พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดหมายของหลักสูตร
 
         4. การที่เราจะจัดการเรียนการสอนจากการสังเกต  วัดผล  ทดสอบต่างๆ  เรานำมาวิจัยดูพฤติกรรมของผู้เรียนและนำไปพัฒนานวัตกรรมสื่อใหม่ๆเพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นและนำประสบการณ์มาปรับปรุงและแก้ไขแล้วนำไปใช้ในอนาคต 

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  พระพุทธ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   เวลาเรียน 10 ชั่วโมง

1.  สาระสำคัญ
พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้นในดินแดนที่เรียกว่า ชมพูทวีป เมื่อ 2,550 ปีมาแล้ว และเคยเจริญรุ่งเรืองในดินแดนพุทธภูมิมาก่อนที่จะแผ่ขยายเข้ามาเจริญรุ่งเรืองในดินแดนสุวรรณภูมิ ภายหลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เหล่าพุทธบริษัทต้องการจะสืบสานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป จึงได้มีการสังคายนา ร้อยกรองพระธรรมวินัย จัดหมวดหมู่คำสอนของพระพุทธเจ้าและจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาเล่าเรียน
ผลจากการทำสังคายนาครั้งที่ 3 พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ รวมทั้งสุวรรณภูมิ อาณาจักรไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางสุวรรณภูมิจึงได้รับเอาพระพุทธศาสนามาเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตและถือเป็นศาสนาประจำชาติของตน พระพุทธศาสนาจึงเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของคนไทย
2.  จุดประสงค์การเรียนรู้
1.  เข้าใจกระบวนการทำสังคายนาและเล่าประวัติการสังคายนา
2.  อธิบายคุณค่าและประโยชน์การทำสังคายนาพระธรรมวินัย
3.  ลำดับเหตุการณ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยแต่ละยุคสมัย
4.  บอกคุณค่าและความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทยในฐานะต่างๆ
3.  สาระการเรียนรู้
1.  การทำสังคายนา
2.  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย
3.  ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
4.  กิจกรรมการเรียนรู้
          -    นักเรียนทำสมาธิก่อนเรียน 5 นาทีทุกชั่วโมง
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                   1  สำรวจความต้องการและความพร้อมของนักเรียนก่อนเข้าสู่บทเรียน โดยการซักถาม สังเกตพฤติกรรมหรือสนทนา เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจการเรียนรู้ของนักเรียน
                    2 ครูให้ตัวแทนนักเรียนนำพระไตรปิฎกมา 1 เล่ม หรือนำมาจากห้องสมุด หรือที่ครูจัดเตรียมไว้เพื่อให้นักเรียนดู แล้วสนทนาในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับพระไตรปิฎก เช่น
                       -   นักเรียนเคยเห็นพระไตรปิฎกหรือไม่ และมักเห็นจากที่ใด
                       -   ใครเคยอ่านพระไตรปิฎกบ้าง มีเนื้อหาเป็นอย่างไร เล่าประสบการณ์ให้เพื่อนฟัง
                       -   พระไตรปิฎกมีความสำคัญและความเป็นมาอย่างไร
                   3. ครูเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียน และให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
 ขั้นประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
          1.  นักเรียนอภิปรายถึงคุณค่าและการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สรุปผลการอภิปรายเป็นผังความคิด และนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน หรือนำผลงานติดป้ายนิเทศในชั้นเรียน
                   2.  นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา แล้วบันทึกประสบการณ์ลงในใบงานที่ 1.2 เรื่อง น้อมนำปฏิบัติ (1) ส่งครู
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                    1. สำรวจความต้องการและความพร้อมของนักเรียนก่อนเข้าสู่บทเรียน โดยการซักถาม สังเกตพฤติกรรมหรือสนทนา เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจการเรียนรู้ของนักเรียน
                       -   นักเรียนดูภาพพระพุทธรูปในยุคสมัยต่างๆ ภาพสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ภาพโบสถ์ เจดีย์ เป็นต้น
                    2.    ครูอธิบายภาพเพิ่มเติมและตั้งเป็นประเด็นปัญหาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับนักเรียนว่า นักเรียนรู้สึกอย่างไรต่อศิลปะและสถาปัตยกรรมเหล่านั้น อะไรคือที่มาหรือบ่อเกิดของศิลปะและสถาปัตยกรรมที่นำมาแสดง
ขั้นสร้างประสบการณ์
           1. ครูแนะนำเนื้อหาการเรียนรู้ จุดประสงค์การเรียนรู้ และวิธีประเมินผลการเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันกับนักเรียน
           2.             ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนาประจำชาติไทย พระพุทธศาสนาในฐานะสถาบันหลักของสังคมไทย และพระพุทธศาสนาในฐานะสิ่งแวดล้อมที่ดีและครอบคลุมของสังคมไทย พร้อมทั้งตั้งเป็นประเด็นคำถาม
ขั้นสรุปความเข้าใจ
           1.             ครูและนักเรียนร่วมกันศึกษาและสรุปความสำคัญของพระพุทธศาสนา และประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาเรื่องความสำคัญของพระพุทธศาสนา และทำแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ เรื่องที่ 1 ตอนที่ 3 ครูตรวจแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้พร้อมเฉลยคำตอบ
                    2. นักเรียนอภิปราย ซักถามเพิ่มเติม และร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ ครูนัดหมายการเรียนครั้งต่อไป
ขั้นประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
          1. นักเรียนอภิปรายกลุ่มว่าจะนำความรู้เรื่องความสำคัญของพระพุทธศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง สรุปผลการอภิปรายเป็นผังความคิด และนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน หรือนำผลงานติดป้ายนิเทศในชั้นเรียน
          2. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา แล้วบันทึกประสบการณ์ลงในใบงานที่ 1.7 เรื่อง น้อมนำปฏิบัติ (2) ส่งครู
5.   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
     1.  แผนที่ทวีปเอเชีย/แผนที่ประเทศไทย/กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา/ภาพพระราชกรณียกิจด้านพระพุทธศาสนา
     2.  ภาพสถาปัตยกรรม
     3.  บัตรคำ
     4.  สื่อสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สัมฤทธิ์มาตรฐาน พระพุทธศาสนา ม.1
6.   การวัดและประเมินผล
      6.1    วิธีการวัดและประเมินผล
              1.  ตรวจใบงาน
              2.  ตรวจแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้
              3.  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
              4.  ประเมินผลงานกลุ่ม
              5.  ประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม
      6.2    เครื่องมือวัดและประเมินผล
              1.  ใบงาน                 
              2.  แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้
              3.  แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
              4.  แบบประเมินผลงานกลุ่ม
              5.  แบบประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม
      6.3    เกณฑ์การวัดและประเมินผล
              1.  ใบงาน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50
              2.  แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50
              3.  แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม (รายละเอียดอยู่ในแบบสังเกต)
              4.  แบบประเมินผลงานกลุ่ม (รายละเอียดอยู่ในแบบประเมิน)
              5.  แบบประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม (รายละเอียดอยู่ในแบบประเมิน)
              แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
ลำดับที่
รายการพฤติกรรม
คุณภาพการปฏิบัติ
4
3
2
1
1
มีการปรึกษาและวางแผนร่วมกันก่อนทำงาน




2
มีการแบ่งหน้าที่อย่างเหมาะสมและสมาชิกทำตามหน้าที่ทุกคน




3
มีการปฏิบัติงานตามขั้นตอน




4
มีการให้ความช่วยเหลือกัน




5
ให้คำแนะนำกลุ่มอื่นได้




รวม



                   









                                                                                           

ใบงานที่ 10

      ให้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ ลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 10
       1)  กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
       2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
       3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
       4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
        1. คดีปราสาทเขาพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เม จนกระทั่ง 2-3ปีที่ผ่านมาความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรง ขึ้นเมื่อกัมพูชาพยายามผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่บริเวณข้างๆเขาพระวิหารที่ด้วยมีปัญหาคือพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ พิพาทกันอยู่ ต่อมาในช่วงที่ผ่านมาเกิดเหตุคนไทยถูกจับกุมในพื้นที่ พิพาทนี้ทำให้มีปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน

      2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัวเพราะพื้นที่ดังกล่าวมีผลประโยชน์แฝงอยู่อาทิ เช่น   ทะเลในอ่าวไทยมีก๊าซธรรมชาติอยู่ถ้าฝ่ายใดได้ก็จะมีอภิสิทธิ์เต็มที่   เกาะกรูดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น

3กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
ผลของMOU 43 ทำให้กรณีพิพาทนี้ยุ่งเข้าไปอีกทำให้หาข้อยุติไม่ได้ ซึ่งในปัจจุบันหากนำมาในจะทำให้พื้นที่พิพาทหรือพื้นที่ทับซ้อนตกเป็นของกัมพูชาซึ่งทำให้ไทยเสียเปรียบกัมพูชาเพราะ  MOU 43มีการจัดทำแผนที่ มาตราส่วน 1:200,000
   4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
    ในกรณีนี้ไม่แน่นอนอยู่ว่าไทยลุกล้ำดินแดนของกัมพูชาอย่างไรเพราะเป็นพื้นที่ติดกันและมีข้อพิพาทกันอยู่ ดังนั้นรัฐบาลจะต้องช่วยเหลือคนเหล่านี้โดยเร็วที่สุดโดยใช้ความเด็ดขาดไม่ยินยอมและอ่อนแอ อย่างนี้ทำให้กัมพูชาได้ใจและหาเรื่องอยู่คลอดอยู่ที่การตัดสินใจของรัฐบาลซึ้งมีความสำคัญมาก และขอร้องให้นายกและรัฐบาลชุดนี้จัดการปัญหาให้เสร็จไปคนไทยจะได้ไม่เป็นเหยื่อของการพิพาทของดินแดนอีกต่อไป 

ใบงานที่ 9

ให้นักศึกษา ดูทีวีในแหล่งความรู้โทรทัศน์สำหรับเลือกดูคนละหนึ่งเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  ให้สรุปเป็นประเด็นสำคัญ ที่นักศึกษาเห็นว่าสำหรับการจัดการเรียนการสอน และหากนักศึกษาไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี  นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า  อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร  เขียนอธิบายขยายความลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 9 (โทรทัศน์สำหรับครูอยู่ในแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู เลือกพยายามอย่าให้ซ้ำกัน หรือซ้ำกันแต่ให้มุมมองที่แตกต่างกัน)
เรื่องที่ศึกษาโทรทัศน์ครู  เรื่อง 15 ปีไม่มีเบื่อ สำคัญที่เตรียมการสอน จึงสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้จากการที่ได้ศึกษาจาการดูโทรทัศน์เรื่อง 15ปีไม่มีเบื่อ การเตรียมการสอนที่ดีการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆตลอดเวลาเพื่อที่ได้นำไปใช้ในการสอนที่ไม่น่าเบื่อ  โดยที่การฝึกฝน  การหาเทคนิคการสอนเช่น การอ่านหนังสือเทคนิคการสอนของต่างประเทศ  การเข้าฝึกอบรมการทำกิจกรรมซึ่งจะสามารถมีได้ตลอดเวลาให้ได้รับความรู้อย่างเต็มที่ 
นักเรียนจะไม่สับสนด้วยซึ่งในการเขียนแผนการสอนก็มีความจำเป็นที่จะต้องสอดคล้องกับมาตราฐานของหลักสูตร
คุณสมบัติของครูจะต้องมีลักษณะของความรับผิดชอบคิดและหาวิธีการสอนใหม่ที่จะมาสอนนักเรียน เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน  ซึ่งครูก็ต้องมีสมบัติในการวิเคราะห์ตัวของนักเรียนที่มีความแตกต่างกันในด้านความสามารถ  และครูจะต้องรู้จักการเตรียมตัวการสอนและจัดเรียงเนื้อหาให้เป็นลำดับและตรงกับมาตรฐานหลักสูตรและตัวชี้วัดซึ่งจะต้องมีการพัฒนาตามคุณลักษณะ และครูจะต้องรู้จักการหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ กล้าที่จะทดลองและพัฒนาการสอนอยู่เสมอเพื่อทำไห้ตนเองมีประสิทธภาพและความรู้ให้มากที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

ใบงานที่8

ความหมายของวัฒนธรรมองค์กร
                วัฒนธรรมองค์กร  หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฏิบัติเหมือน ๆ  กันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์กรนั้น  เกิดจากการเชื่อมโยง  ผสมผสานกันระหว่างเจตคติของบุคคล  ค่านิยม  ความเชื่อ  ปทัสถาน  และการกระทำของบุคคล  ของกลุ่ม  ขององค์กร  นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร  เทคโนโลยี  สภาวะของกลุ่มความสำเร็จขององค์กร  จนเป็นที่ยอมรับของบุคคลในองค์กร
ลักษณะของวัฒนธรรมองค์กร
                ซึ่งมีแนวทางความคิดที่ก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรของตนเองจากลักษณะต่อไปนี้
                1.  เกิดจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคลากรในองค์กร  บริษัท  ห้างร้าน  สำนักงาน ฯลฯ  เป็นระบบสังคมที่มีระบบที่แน่นอน
                2. เป็นมรดกขององค์กร  ถูกถ่ายทอดจากบุคคลรุ่นหนึ่งไปยังบุคคลอีกรุ่นหนึ่ง  บุคคลอยู่ในสังคมใดก็เรียนรู้วัฒนธรรมของสังคมนั้น  เป็นการสร้างความเจริญให้แก่วัฒนธรรมและสังคมมนุษย์ให้อยู่ในระดับสูงขึ้น                3.  เป็นที่รวบรวมของความคิด  ความเชื่อ  เจตคติ  ตลอดจนค่านิยมขององค์กร  เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากรในองค์กร
                4.  เป็นสิ่งที่คนในองค์กรเห็นว่ามีคุณค่าสูงสำหรับองค์กร  เป็นสินทรัพย์ขององค์กรที่มองไม่เห็นแต่สัมผัสได้
                5.  เป็นสิ่งที่เหมือนกระจกเงาสะท้อนให้เห็นบุคลิกภาพขององค์กร  และบุคลิกภาพของบุคลากรในองค์กรในระดับมหภาค